วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบสุริยะ




                                       ระบบสุริยะ 


ระบบสุริยะจักรวาล

               

        ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งใน กาแลกซี ทางช้างเผือก โดยมีดวงอาทิตย์เป็น
ศูนย์กลางและมีดาวเคราะห์ 9 ดวงเป็นบริวาร โคจรมารอบดวงอาทิตย์ โดยดาวเคราะห์ทั้ง
เก้าจะมีดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ หรือไม่มีก็ได้ โดยดาวทั้งหมดจะได้รับแรงดึงดูด
จากดวงอาทิตย์

        การเกิดระบบสุริยะจักรวาล
        ระบบสุริยะจักรวาลเกิดจากการหดตัวของกลุ่มก๊าซและฝุ่นภายใต้ความโน้มถ่วงของ
ดาวระเบิดมีลักษณะหมุนเร็วขึ้นและมีการหมุนเป็นรูปวงรี โดยมีจุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีแสงสว่างในตัวเอง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโล
เมตร โดยดวงอาทิตย์เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ ไฮโดรเจนและฮีเลียม มีอุณหภูมิ
และความดันสูงมาก



ระบบสุริยะ


องค์ประกอบระบบสุริยะจักรวาล

            ระบบสุริยะจักรวาล ประกอบด้วย
           1. ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา  
ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ
           2. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสง และพลังงานจากดวง
อาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด  9 ดวง จึงเรียกว่า “ ดาวพระเคราะห์” ประกอบด้วย  
           -ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็น
บริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร
           -ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยาม
ค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ ดาวประจำเมือง” ในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า “ ดาวประกายพรึก”ไม่มี
ดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 
ล้านกิโลเมตร
           -โลก เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิ
โลเมตรดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับ
โลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวง
อาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลาง 6755 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 225.60 ล้านกิโลเมตร
          -ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่และหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เป็นดาวเคราะห์
ดวงที่ 5 ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลาง 141968 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 722.80 ล้านกิโลเมตร          
        -ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวง
ที่ 6 เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ 
ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 
119296  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1417.6 ล้านกิโลเมตร
           -ดาวยูเรนัส  เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 นิยมเรียกว่า “ ดาวมฤตยู” มีดวงจันทร์ 5 ดวง มี
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2852.8 ล้านกิโลเมตร
         -ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก “ ดาวเกตุ” มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 48600  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4496.6 ล้านกิโลเมตร
         -ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดาวพลูโต มีก้อนหิมะปก
คลุม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2284  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 5865.6 ล้านกิโลเมตร
          3. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดเล็ก ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ มีปริมาณ 3–5 
หมื่นดวง อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส
          4. ดาวหาง เป็นดาวที่มีรูปร่างเหมือน เปลวไฟเป็นหางยาว มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์แน่
นอน เช่นเดียวกับดาวเคราะห์และดาวเคราะห์น้อย ดาวหางประกอบด้วยก๊าซต่างๆ เปลวไฟที่เห็น
เป็นทางก็คือก๊าซและสะเก็ดดาวที่ไหลเป็นทาง

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec01p02.html
วันที่ 31 มกราคม 2556

1 ความคิดเห็น: