วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของดอก


       
    ส่วนประกอบของดอก

      ดอก (Flower) คือ ส่วนของพืชที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะพิเศษ เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ดอกเกิดจากตาดอก (Flowering bud) ดอกไม้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายกัน                                                                                                 
 
                                                                                                      ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกได้แก่
ส่วนประกอบของดอกชบา
1. กลีบเลี้ยง (Sepal) วงกลีบเลี้ยง (Calyx) เป็นวงนอกสุดของดอก ส่วนใหญ่มีสีเขียวทำหน้าที่หุ้มและป้องกันดอกตูม พืชบางชนิดมีกลีบเลี้ยงแยก บางชนิดมีกลีบเลี้ยงเชื่อมต่อกัน
2. กลีบดอก  (Petal)  วงกลีบดอก (Corolla) อยู่ถัดจากวงกลีบเลียงเข้าไป ลักษณะบางกว่ากลีบเลี้ยง มีสีสันต่างๆ พืชบางชนิดมีกลีบดอกแยก บางชนิดมีกลีบดอกเชื่อมต่อกัน 
3. เกสรตัวผู้  (Stamen) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ อยู่ถัดจากวงกลีบดอกเข้าไป เกสรตัวผู้แต่ละอัน มีโครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อับเรณู (Anther) ซึ่งภายในมีถุงอับเรณู (Pollen sac) และก้านเกสรตัวผู้ (Filament) เกสรตัวผู้จัดเป็นวงชั้นที่ 3 ของดอกไม้ เรียกว่า Androecium
            1. ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้น อาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกกัน อาจยาวหรือสั้นซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของพืช ทำหน้าที่ชูอับเกสรตัวผู้หรืออับเรณู
            2. อับเกสรตัวผู้ (anther) มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวหรือค่อนข้างกลม 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ 4 ถุง เรียกว่า ถุงเรณูหรือโพรงอับเรณู (pollen sac หรือ microsporangium) บรรจุกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า microspore mother cell ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นละอองเรณู (pollen grain) จำนวนมาก โดยมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆสีเหลืองๆ ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ละอองเรณูทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ในพืชโบราณหรือพืชวิวัฒนาการต่ำมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะน้อยลง ในพืชบางชนิด เช่น ชงโค กล้วย เกสรตัวผู้บางอันเป็นหมัน ไม่สามารถสร้างละอองเรณูได้ เรียกว่า สเตมิโนด (staminode) ในพุทธรักษา ส่วนเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันเปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะคล้ายกลีบดอก มีสีสันสวยงามและเป็นแผ่นกว้าง เรียกว่า เพทะลอยด์สเตมิโนด (petaloid staminode)

4. เกสรตัวเมีย  (Pistil)  ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มักมีเมือกเหนียวเพื่อคอยดักละอองเรณู และก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เกสรตัวเมียจัดเป็นวงในสุดของดอกไม้ เรียกว่า Gynoecium รังไข่ (Ovary) ภายในรังไข่มีออวุล (Ovule) รังไข่ทำหน้าที่สร้างไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การจำแนกชนิดของรังไข่โดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 3 ชนิด ได้แก่
          1. ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นส่วนที่พองออก มีลักษณะเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก เป็นพู และมีน้ำเหนียวๆ หรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด
          2. ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นก้านเล็กๆอาจยาวหรือสั้น เชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่ เป็นทางให้สเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปปผสมกับไข่
          3. รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่พองออก มีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ติดกับฐานรองดอก หรืออาจฝังอยู่ในฐานรองดอก ภายในมีลักษณะเป็นห้องๆ เรียกว่า โลคุล (locule) ซึ่งอาจมีเพียง 1 โลคุล หรือมากกว่าก็ได้ ถ้ามีมากกว่า 1 ห้อง จะมีผนังกั้น เรียกว่า septum ภายในรังไข่มีออวุล (ovule) บรรจุอยู่ โดยโอวุลจะเชื่อมติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ ที่เรียกว่า funiculus และบริเวณของผนังรังไข่ที่ก้าน funiculus เชื่อมติดอยู่เรียกว่า placenta 
ดอกตัวผู้,ดอกตัวเมีย

5. ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก แผ่ออกไปทำหน้าที่รองรับส่วนต่างๆ ของดอก
6. ก้านดอกย่อย (Pedicel) เป็นก้านของดอกย่อยที่อยู่ในช่อดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอกที่อยู่ต่อจากฐานดอกในดอกเดี่ยว
7. ก้านดอก (Peduncle) เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือเป็นส่วนก้านช่อดอก 
การจำแนกตามส่วนประกอบของดอก
1. ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ
2.ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)
การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาเฉพาะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ชบา




 2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว หรือต่างดอกกัน คือ ดอกเพศผู้ (Staminate flower) ดอกเพศเมีย (Pistillate flower)
* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) เช่น ดอกฟักทอง ดอกข้าวโพด
* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น (Dioecious plant) เช่น ดอกมะละกอดอกตาล


ดอกฟักทอง


การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจากจำนวนดอกบนหนึ่งก้าน
1. ดอกเดี่ยว (Solitary flower) หมายถึง ดอกไม้ที่มีอยู่เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ จำปี บัว ผักบุ้ง
2. ดอกช่อ (Inflorescence flower) หมายถึง ดอกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ดอกบนก้านดอกเดียวกัน ดอกแต่ละดอก เรียกว่า ดอกย่อย (Floret) ก้านดอกย่อย เรียกว่า Pedicel ส่วนแกนกลางที่ยาวต่อจากก้านดอกซึ่งมีดอกย่อยแยกออกมา เรียกว่า Rachis

3. ดอกรวม (Composite flower) เป็นดอกช่อชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมาก มีก้านชูดอกอันเดียวกัน ลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว เช่น ดาวเรือง ทานตะวัน โดยมีดอกย่อย 2 ชนิดคือ
- Rey flower อยู่รอบนอก มีกลีบดอกยาวหลายกลีบเชื่อมติดกันหมดและแผ่ออก ส่วนมากเป็นหมันหรือเป็นดอกตัวเมีย
- Disc flower เป็นดอกย่อยที่อยู่ด้านใน อยู่ตรงกลางเป็นดอกเล็กๆ มีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

ที่มา:http://www.scimath.org/index.php/socialnetwork/groups/viewbulletin/1493-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81?groupid=260

http://www.bwc.ac.th/Science/sumena/cell4.htm
http://flowerworld.exteen.com/20110129/entry
วันที่ 31 มกราคม 2556

1 ความคิดเห็น: