วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แท็บเล็ท (Tablet)

แท็บเล็ท (Tablet)
                            

                                           

    แท็บเล็ท (Tablet) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการ เขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลาย บริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็บคอมพิวเตอร์ -Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"

    ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้ เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่อง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

      แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

   "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน เป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือ ข่ายภายใน

     แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

   "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอ สัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก

    ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

   เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"
   ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้ หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

      Post-PC operating systems

   ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Tablet สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดการแข่งขันและการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ tablet ขึ้นมาเฉพาะโดยไม่ได้ตามเทคโนโลยีของ PC หรือ PDA เหมือนในอดีต ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมด้าน Hardware หรือ Software ต่างมีผู้ผลิต OS (Operating System) ของตนเองมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าย Windows เองก็พยายามจะรักษาตลาดเดิมของ PocketPC เอาไว้ นอกจากนี้ Apple ผู้ผลิต iPad ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน Tablat อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็มี iOS ที่พัฒนาสำหรับ Tablat โดยเฉพาะและมีจุดแข็งในการผลิตฮาร์ดแวร์เองทำให้ OS สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้คู่แข่งสำคัญอย่าง Google ก็มี Android OS ที่มีจุดแข็งในการเปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อื่นๆ สามารถนำ Android OS ไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ของตน นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่พยายามสร้าง OS ของตนขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ Tablat ของตนเอง เช่น Blacberry Tablet OS ที่อิงระบบ QNX หรือ HP ที่พยายามสร้าง webOS เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ทำไม่สำเร็จ  อย่างไรก็ตาม Tablat ยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคต Tablat จะเป็นมากกว่ากระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะบรรจุเทคโนโลยีมากมาย อีกทั้งความสามารถด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถของ Tablat เปิดกว้างมายิ่งขึ้น
     ตัวอย่าง สื่อการเรียนการสอนจากTablat

  
    สรุปความหมายของแท็บเล็ตสั้นๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก แต่นั่นก็เป็นมุมมองของแต่ละบริษัทและแต่ละคนว่าจะเรียกมันว่าอะไร ในอนาคตอาจจะมีการนิยามคำว่า แท็บเล็ต ใหม่ให้มันกระชับและครอบคลุมมากกว่านี้ก็ได้

   ที่มา: http://nusmanuscha.blogspot.com/
           http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282
           http://bangkok.olxthailand.com/application-tablet-iid-284120954
  วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

Social Media

 Social Media





      Social Media หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความรูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทางInternet และโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆ
Social Network หมายถึง เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้างสังคมเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น
www.facebook.com ส่วน http://twitter.com เป็น micro blog site ชึ่งเป็น Social Media ชนิดหนึ่ง

       หมวดสื่อสาร
   - Web Blog  ยกตัวอย่างเช่น Exteen, Blogspot , Bloggang ลักษณะการใช้งาน – เขียนบทความ เนื้อหาต่างๆ  ฯ
  - Board/Forums ยกตัวอย่างเช่น Dek-d , Plamool , webboardของ Game Onlineต่างๆ ลักษณะการใช้งาน – ตั้งกระทู้ถามตอบ ตอบกระทู้
  - Micro-blogging ยกตัวอย่างเช่น Twitter ลักษณะการใช้งาน – เป็น Blog สั้น ที่มีการกำหนดความยาวตัวอักษร
  - Social Networking – ยกตัวอย่างเช่น Facebook , Hi5 , Myspace ลักษณะการใช้งาน – เป็น การสร้างสังคม บนโลก online เพื่อ พูดคุย แบ่งปันให้ Networkของเรา ซึ่งเพื่อนของเรานั่นแหละที่เรียกว่า Network
  - User Generated Content -  ยกตัวอย่างเช่น Squidoo, Hubpages ลักษณะการใช้งาน – เราสามารถสร้างหน้า หรือว่าเขียนบทความในเว็บของเค้าได้

      หมวด ร่วมด้วยช่วยกัน 
  - Wiki ยกตัวอย่างเช่น Wikipedia, PBwiki, wetpaint ลักษณะการใช้งาน – User จะช่วยกันสร้างฐาน ข้อมูล เพื่อความรู้หรือดาต้าที่อยู่ในเว็บเราสามารถโชว์ทุกครั้งที่User อื่น ค้นหาข้อมูล จาก Keyword
  - Social Bookmark ยกตัวอย่างเช่น Delicious, StumbleUpon, Stumpedia, Google Reader, CiteULike ลักษณะการใช้งาน – เป็นเว็บสำหรับทำการbookmark online เพื่อที่จะ share ให้คนอื่นที่อยู่ ใช้เว็บนั้นๆอยู่ได้เห็นเว็บไซด์ที่เรา ทำงานการ Bookmark เอาไว้ด้วย ( การBookmarkจะคล้ายการใช้งานบน IE , Firefox, googlechomeแต่เราจะเห็นแต่เพียงผู้เดียว )
  -Social News ยกตัวอย่างเช่น thairath, dailynews ลักษณะการใช้งาน   – นำเสนอข่าว online

      หมวดมัลติมีเดีย
  - Photo Sharing  ยกตัวอย่างเช่น Flickr, Twitpic ,Photobucket ลักษณะการใช้งาน Upload รูปภาพ แล้วสามารถ Share ให้เพื่อนๆ สามารถเห็นได้
  - Video Sharing ยกตัวอย่างเช่น Youtube ลักษณะการใช้งาน Upload Video แล้ว สามารถ ส่งให้เพื่อนๆ Network ดู
  - Live casting ยกตัวอย่างเช่น Ustream.tv, Justin.tv, Skype ลักษณะการใช้งาน ดูรายการสด ผ่านทาง Internet และ Video Live Chat เป็นต้น
  - Audio and Music Sharing ยกตัวอย่างเช่น The Hype Machine, Last.fm, ccMixter, ijigg ลักษณะการใช้งาน สามารถฟังเพลง และสามารถ นำ Embed ไปวางในเว็บไซด์ของเราเพื่อ แชร์

     หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น
  - Product Reviews ยกตัวอย่างเช่น epinions.com, MouthShut.com และ Blog Review ต่างๆ ลักษณะการใช้งาน เขียน Review สินค้า หรือ แม้แต่ทริปท่องเที่ยวเป็นต้น
  - Questions and Answers ยกตัวอย่าเช่น Yahoo Answerลักษณะการใช้งาน Userจะเป็นผู้ช่วยกันตั้งคำถาม และ ตอบคำถาม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้และความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน

     หมวดบันเทิง
  - Virtual worlds ยกตัวอย่างเช่น Game Online ต่างๆ , The Sim Online ลักษณะการใช้งาน เป็นโลกเสมือนจริงที่ User เป็นผู้ควบคุมตัวละคร ให้ เดิน วิ่ง พูดคุย เปรียบเสมือน อยู่บนโลกอีกใบหนึง เอาหละ หลังจากทราบ กันแล้ว ว่า Social Media มีอะไรบ้างแล้วทีนี้เรามาดูกันว่า ทั่วโลก เค้าใช้ Social Media อะไร และ Zone ไหน นิยมเว็บไซด์ได้


 ตัวอย่าง Social Mediaในการเรียนการสอน 


     
      หลังจากที่รู้จัก Social Media แล้ว ก็พอจะรู้ กลุ่มเป้าหมายแล้วน ว่าอยู่ Zoneไหน ควรจะใช้ Social Media ใด ในการโปรโมทเว็บไซด์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก มากขึ้นๆ

      
   ที่มา: http://itc.ddc.moph.go.th/manual/showimgpic.php?id=24
           http://krujeerajaree.wordpress.com/2012/06/20/%E0%B8%AA%E0%B8%B1
        %E0  %B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8   
        %99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C-social-media%E%B8%84  
        %E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
           http://www.mediamonitor.in.th/main/knowledge/2011-07-02-11-23-28/538--social-   
        media-.html
           http://kruweerachat.blogspot.com/2012/08/2965-people-reached-like-and-share.html
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

Video conference

  
Video conference




แผนภาพการเชื่อมต่อ Video Conference



      ความหมาย

        การประชุมทางไกล (Video conference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ  เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ

     ความสำคัญ

       Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง

     การติดตั้งระบบ Video Conference

       ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

     อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้
  1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
  2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
  3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
  4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
  5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และจอบันทึกการประชุม
  6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 - 300,000 บาท (สำหรับระบบ
ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ 
     
     หลักเบื้องต้นการติดตั้ง มีดังนี้

  1.เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec-Network-กล้องเสริม-จอ
โทรทัศน์-Projector-เครื่องนำเสนอ-Computer-เครื่องบันทึก-ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
  2.เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network (ขั้นตอนนี้ต้องประสานกับฝ่าย Network เพื่อ Config IP ให้กับ
Codec)
  3.ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่ง

     อุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล
  1.กล้องจะต้องวางในตำแหน่งท้ายโต๊ะประชุม และอยู่กึ่งกลางห้องประชุม ยึดหลักให้สามารถจับภาพผู้เข้า
ประชุมได้ทุกคน แต่หากมีปัญหาเรื่องพื้นที่ ไม่สามารถวางตำแหน่งดังกล่าวได้ แก้ไขโดยเพิ่มกล้องเสริม และ เปลี่ยนตำแหน่งจับภาพกล้องละด้าน เช่น กล้องหลักวางด้านซ้าย กล้องเสริมวางด้านขวา จำไว้ว่ากล้อง 2 ตัว ต้องแบ่งหน้าที่อิสระจากกัน จับภาพด้านของตัวเองเท่านั้น
  2.ลำโพงเสียง กรณีเป็นชุดประชุม ลำโพงจะติดที่ไมโครโฟน ไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ เพราะจะอยู่บนโต๊ะ (การแก้ปัญหาเสียงหอน ใช้เทคนิคการปรับแต่งเสียง) แต่กรณีเป็นระบบเสียงแยกอิสระ ลำโพง ควรอยู่ไกล ตำแหน่งไมค์ให้มากที่สุด และอยู่สูง หันทิศทางให้กระจายเสียงได้ทั่วห้องประชุม เพื่อแก้ปัญหาทางเสียงได้ดี ที่สุด
  3.อุปกรณ์เครื่องนำเสนอต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องทึบแสง เป็นต้น เหล่านี้ไม่ค่อยมีปัญหาจะจัดตาม
หลักการจัดห้องประชุมอยู่แล้ว
  4.อุปกรณ์ชุดควบคุมเสียงและระบบบันทึกภาพ ควรอยู่ด้วยกัน เพื่อสามารถควบคุมได้ทันท่วงที ขั้นตอนการทำงานของระบบเริ่มจากการแปลงสัญญาณภาพและเสียงจากระบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลแล้ว
ส่งไปถึงผู้รับ จากนั้นอุปกรณ์สื่อสารของผู้รับก็จะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นภาพและเสียงให้ผู้ชมเห็นและได้ยิน สำหรับภาพที่เห็นนั้นอาจติดตั้งให้ภาพปรากฏบนจอรับภาพในห้องประชุมก็ได้ หรืออาจสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและกระเป๋าหิ้ว ซึ่งทำให้การประชุมสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 

     ตัวอย่าง การประชุมทางไกล


       การประชุมทางไกล การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ การประชุมทางไกลโดยการจัดอุปกรณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันสามารถประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดยใช้อุปกรณ์ สื่อสาร เราเรียกการประชุมแบบนี้ว่า Teleconference ในกรณีที่การประชุมนั้นมีอุปกรณ์ที่ทำให้เห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกันด้วยเราเรียก Video Conference มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ กล้อง ไมโครโฟน และจอรับภาพ

ที่มา:  www,peak.co,th 
         www,av-shopping,com 
         http://www.klongsiam.com/18.2/53631163/process_1.html
         http://janruethai.wordpress.com/2012/08/17/video-conference-%E0%B8%84%E0%
         B8%B7  %E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Web Quest



Web Quest

         Web Quest เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นยังนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จะมีบ้างก็ในสถาบันอุดมศึกษา
 Web Quest คืออะไร ?         
         สำหรับ Web Quest  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้โดยใช้ ICT เป็นฐานการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทรอืเน็ต ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียนด้วยตนเอง การใช้ web quest ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหา เป็นวิธีการเรียนที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียนองค์ประกอบ Web Quest :        
         การจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วย Web Quest ได้นั้นผู้สอนควรทราบถึงองค์ประกอบหลักในการจัดสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึง การออกแบบ การวางแผนกาสอน และการพัฒนาบทเรียน(Web Quest) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้        
         1. ชื่อเรื่อง
ในขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาคำตอบโดยทั่วไปจะเป็นการให้สถานการณ์ และให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อๆไป ตามที่ออกแบบไว้

        2. เลือกการออกแบบ
 ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมายและจุดเน้นสำหรับผู้เรียน หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นภารกิจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซท์  http://webquest.sdsu.edu/taskonomy.html.


       3. เครื่องมือในการพัฒนา

 และที่ครูผู้ชี้แนะจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม เพื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้หาคำตอบได้


      4. การสร้างเครื่องมือการประเมิน

มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินผล กิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) กระบวนการเหล่านี้จะต้องแตกย่อยให้เป็นขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจน
       5. การพัฒนากระบวนการ
ให้หาคำตอบ หรือใบงานที่ต้องการให้ทำให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ อาจเป็นตารางเวลา หรือแผนที่ ฯลฯ
       6. การทดสอบ / เผยแพร่
กันหมดทุกอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rublics) โดยพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน เป็นขั้นการประเมินว่าผู้เรียนสามารถหาคำตอบและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลอย่างแท้จริง (Authentic Assessment) ซึ่งอาจเป็นในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ตัวอย่างการประเมินอย่างแท้จริง เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ซึ่งสะสมงานทั้งหมดที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem based Learning) การเรียนรู้โดยอาศัยโครงงาน (Project-based Learning) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้บน WebQuest การประเมินผลอย่างแท้จริงในสภาพจริง เป็นสิ่งที่สำคัญของการเรียนรู้ เป็นการประเมินกระบวนการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน มากกว่าการวัดเพียงความรู้ ความจำ
         

         7. การประเมินผล
 และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา ทั้งนี้ขั้นสรุปนี้ควรเป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนตระหนักว่าเขาควรจะเรียนรู้อะไรและแม้แต่กระตุ้นให้ผู้เรียนหาความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ต่อไปอีก
     

        สำหรับผู้สอนที่ต้องการพัฒนาเนื้อหาบทเรียนผ่าน Web Quest ท่านสามารถใช้เครื่องมือ (Authoring Tool) เพื่อทดลองสร้าง มีขั้นตอนการสร้าง  3 ขั้นตอนง่ายๆ  คือ
1) STEP #1: HEADING AND TITLE : ป้อนชื่อเรื่อง / ชื่อผู้สอน / หัวข้อของ Web Quest
2) STEP #2 : PICTURE : เลือกรูปภาพ
3) STEP #3: CONTENT OF WEB QUEST : ป้อนเนื้อหาให้ครบทั้ง 6 ขั้นตอนย่อยหลังจากป้อนข้อมูลครบ 3 ขั้นตอนข้างบนแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม GENERATE-WEB QUEST เท่านี้ท่าน(ผู้สอน) ก็จักได้ Web Quest อย่างง่ายตามต้องการ
ขั้นนี้เป็นขั้นการให้งานหรือภารกิจหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้สำเร็จ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเว็บเควสท์ขั้นนี้เป็นการให้แหล่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำภารกิจในขั้นที่สองให้สำเร็จ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีบน World Wide Web ขั้นนี้เป็นขั้นการชี้แนะว่าผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการและกิจกรรมใดบ้างเพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ โดยให้ผู้เรียนขั้นนี้เป็นขั้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลว่าเป็นอย่างไร ในขั้นนี้อาจนำเสนอในรูปแบบของคำถามที่ต้องการในขั้นนี้ ควรกำหนดวิธีการประเมินไว้ เทคนิควิธีของเว็บเครสท์นั้น ผู้เรียนแต่ละคนอาจได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมือนขั้นนี้เป็นขั้นให้ผู้เรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ


       ตัวอย่าง Web Quest


       


        ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/135279
                  http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1494
        วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

e-book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์


     
e-book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์



          e-book คือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ที่  ได้รับการแปลงลงบนสื่อบันทึกด้วย ระบบดิจิทัล เช่น ซีดี-รอม หรือหนังสือที่พิมพ์ลงบนสื่อบันทึกด้วยระบบดิจิทัลแทนที่จะพิมพ์ลงบนกระดาษเหมือนสิ่งพิมพ์ธรรมดาที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม หรือเครื่องอ่าน E-Book โดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตัวอักษร อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน
       
           พัฒนาการของ E–Book
E-Book มีมาภายหลังปี .. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Masterเนื้อหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในปี1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบเพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำให้E-Book มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (Files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ หลังจากนั้นได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้

            ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น

            1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
            2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
           3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
           4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)ได้ง่าย
          5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
          6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด
          7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
          8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
         9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print) ได้
         10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
         11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
         12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                  
          ประโยชน์ของ E-Book
1. ช่วยให้สามารถย้อนกลับมาอ่านได้และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลา-สถานที่ที่ตนเองสะดวก
2.   การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความ ตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย
3. สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
4.   สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษา


ตัวอย่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-book




        e-book  เป็นสื่อการเรียนการสอนที่แพร่หลาย ที่นำมาใช้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน สามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆของหนังสือ เว็บไซต์ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ เป็นการศึกษาที่ให้ความสะดวกสบายและรวดเร็วแก่ผู้ศึกษา



ที่มา http://semamoe.com/node/1103.
    www.oknation.net
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

Blogger




Blogger




Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
      ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
      บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน

Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับpicasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน

          Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร
          -Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย เช่น http://ninetechno.blogspot.com  เป็นต้น
         - Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี Template ให้เลือก โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
         -Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้

          Webblog ทำอะไรได้บ้าง
           -ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
           -ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเว็บล่ม 
           -เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
           -หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
           -ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้อยู่บ้าง

ภาพตัวอย่าง Blogger

           ประโยชน์ของBlog                                                                                                                                                                                                                                                   1.เพื่อบริหารการจัดการความรู้ต่างๆ โดย Blog จะเป็นช่องทางให้ผู้อ่านหาข้อมูลที่ต้องการจาก Blog ต่างๆได้โดยง่าย ขณะเดียวกันผู้เขียน Blog หรือ Blogger ก็สามารถค้นคว้าหาข้อมูล หรือ update ข้อมูลใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้                       
         2.เป็นที่ติดต่อสือสารและแรกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลที่มีแนวความคิดเดียวกัน เช่น เมื่อเราเขียน Blog แล้วมีผู้สนใจในเนื้อหา อาจมีข้อสงสัยสามารถที่จะ comment ข้อสงสัยไว้ได้เพื่อต้องกานให้ผู้เขียน อธิบายหรือตอบปัญหาดังกล่าว                                 
        3.เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้อ่านและผู้เขียนคือผู้อ่านได้รับความรู้จากเรื่องที่ตนสนใจ และสามารถ comment เพื่อแสดงความคิดเห็นไว้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้อ่านและผู้เขียนทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจได้มากขึ้น    
         4.เป็นแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เป็นสิ่งสรุปข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาอ่านหา ความรู้ได้ง่าย มีการแสดงแนวคิดความคิดเห็นให้ ผู้อ่านได้ตัดสินใจ และเป็นแหล่งที่ ตั้งคำถามที่เราสงสัยเพื่อให้ผู้ที่มีความรู้เข้ามา comment บรรยาย ให้เราทราบได้อีกด้วย


   ที่มา:  http://www.ninetechno.com/a/blogger/360-blogger.html
             http://oroshikung.wordpress.com/2009/01/30/blog-    %E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2/
  วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556

E-learning

E-learning

          E-learning คืออะไร  คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่าอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียออนไลน์   (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology)ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 
 องค์ประกอบของ e-Learning
            1. ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)
ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
             2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
             3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้นผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
             4. วัดผลการเรียน (Evaluation)งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่


ประโยชน์ของ e-Learning
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
              การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
  • เข้าถึงได้ง่าย
              ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
              เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
     
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
              ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม


ภาพตัวอย่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์





           ปัจจุบันบริษัทหลายๆบริษัทได้ใช้ระบบ E-Learning โดยระบบการเรียนผ่านออนไลน์นี้มีหลายหลักสูตร เพื่อเป็นสื่อช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะแก่พนักงานในบริษัท ปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยลายๆแห่งได้นำระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตมาใช้ โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร ตามโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์ และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้

ที่มา: http://www.thaiall.com/internet/internet11.htm
                 http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1
                 http://www.youtube.com/watch?v=xfIgnvCP-Mg
        วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556